“แบรนด์ไทย” ที่ประสบความเร็จ เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับในตลาดไทยรวมถึงตลาดโลกก็มีหลายแบรนด์ที่คุ้นหูคุ้นตากันบ้าง แต่ก็ยังมีอีกหลายแบรนด์ที่เรียกได้ว่า อาจจะไม่ประสบความเร็จตามเป้าสักเท่าไหร่ ในความแตกต่างนี้มีอะไรแอบแฝงอยู่กันแน่?
ข้อมูลงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทสาขาการตลาด CMMU จากแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 1,032 ราย เพื่อศึกษาการรับรู้สินค้าและกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าไทย และสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้บริโภคในแต่ละเจนเนอเรชั่น ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 30 ราย เพื่อศึกษา Customer Journey และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไทย พบว่า
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์ไทย คือ..
1. คุณภาพยังเป็นหัวใจหลัก ซึ่งต้องดีจริงตามโฆษณา
2. ราคาต้องมีความเหมาะสมกับคุณภาพ
3. แบรนด์ต้องมีการสื่อสารไปยังผู้บริโภค มีการรีวิวผ่านสื่อสังคมออนไลน์
4. สินค้ามีเอกลักษณ์ทั้งในเรื่องบรรจุภัณฑ์และการทำแบรนด์ต้องแตกต่างไม่เหมือนใคร และต้องมีความทันสมัย น่าเชื่อถือ
และ 5 เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่ซื้อ “สินค้าไทย” คือ..
39% ไม่ไว้ใจสินค้า ไม่มีรีวิว/คำแนะนำ
42% ประสิทธิภาพไม่ตรงตามความคาดหวัง
45% บรรจุภัณฑ์ไม่ดึงดูดความสนใจ
57% ช่องทางจำหน่ายไม่ทั่วถึง
58% การสื่อสารข้อมูลสินค้าไม่เพียงพอ และไม่เข้าถึงผู้บริโภค
จากการทำแบบสอบถามยังพบว่า การที่ผู้บริโภคเลือกใช้สินค้าไทยไม่ได้ต้องการซื้อเพราะสะท้อนถึงความเป็นไทย แต่เน้นที่ #คุณภาพของสินค้าเป็นหลัก
สุดท้ายแล้วอาจสรุปได้ว่าผู้บริโภคไม่ได้มองว่าสินค้านั้นเป็นแบรนด์ไทยหรือแบรนด์นอก ถ้าแบรนด์นั้นสามารถตอบโจทย์หรือช่วยแก้ปัญหาได้จริง ในคุณภาพที่เหมาะสมกับราคา ก็ยินดีที่จะควักเงินจ่ายได้อย่างไม่ลังเล และไม่ว่าองค์ประกอบอื่น ๆ อย่างการทำโฆษณาหรือการทำแบรนด์ให้แตกต่างโดดเด่นจะสำคัญขนาดไหน แต่สิ่งที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกและรักษามาตรฐานให้คงที่เสมอคือ “คุณภาพ” นั่นเอง
Credit : marketeer